การโจมตีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

วิธีการโจมตีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  การโจมตีเครือข่าย
   แม้ว่าระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะเป็นเทคโนโลยีที่น่าอัศจรรย์ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มากถ้าไม่มีการควบคุมหรือป้องกันที่ดี การโจมตีหรือการบุกรุกเครือข่าย หมายถึง ความพยายามที่จะเข้าใช้ระบบ (Access Attack) การแก้ไขข้อมูลหรือระบบ (Modification Attack) การทำให้ระบบไม่สามารถใช้การได้ (Deny of Service Attack) และการทำให้ข้อมูลเป็นเท็จ (Repudiation Attack) ซึ่งจะกระทำโดยผู้ประสงค์ร้าย ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ หรืออาจเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจของผู้ใช้เองต่อไปนี้เป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีพยายามที่จะบุกรุกเครือข่ายเพื่อลักลอบข้อมูลที่สำคัญหรือเข้าใช้ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
1 แพ็กเก็ตสนิฟเฟอร์
   ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งผ่านเครือข่ายนั้นจะถูกแบ่งย่อยเป็นก้อนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “แพ็กเก็ต (Packet)” แอพพลิเคชันหลายชนิดจะส่งข้อมูลโดยไม่เข้ารหัส (Encryption) หรือในรูปแบบเคลียร์เท็กซ์ (Clear Text) ดังนั้น ข้อมูลอาจจะถูกคัดลอกและโพรเซสโดยแอพพลิเคชันอื่นก็ได้
2 ไอพีสปูฟิง
  ไอพีสปูฟิง (IP Spoonfing) หมายถึง การที่ผู้บุกรุกอยู่นอกเครือข่ายแล้วแกล้งทำเป็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ (Trusted) โดยอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเหมือนกับที่ใช้ในเครือข่าย หรืออาจจะใช้ไอพีแอดเดรสข้างนอกที่เครือข่ายเชื่อว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อถือได้ หรืออนุญาตให้เข้าใช้ทรัพยากรในเครือข่ายได้ โดยปกติแล้วการโจมตีแบบไอพีสปูฟิงเป็นการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มข้อมูลเข้าไปในแพ็กเก็ตที่รับส่งระหว่างไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ หรือคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกันในเครือข่าย การที่จะทำอย่างนี้ได้ผู้บุกรุกจะต้องปรับเราท์ติ้งเทเบิ้ลของเราท์เตอร์เพื่อให้ส่งแพ็กเก็ตไปยังเครื่องของผู้บุกรุก หรืออีกวิธีหนึ่งคือการที่ผู้บุกรุกสามารถแก้ไขให้แอพพลิเคชันส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเข้าถึงแอพพลิเคชันนั้นผ่านทางอีเมลล์ หลังจากนั้นผู้บุกรุกก็สามารถเข้าใช้แอพพลิเคชันได้โดยใช้ข้อมูลดังกล่าว
3 การโจมตีรหัสผ่าน
   การโจมตีรหัสผ่าน (Password Attacks) หมายถึงการโจมตีที่ผู้บุกรุกพยายามเดารหัสผ่านของผู้ใช้คนใดคนหนึ่ง ซึ่งวิธีการเดานั้นก็มีหลายวิธี เช่น บรู๊ทฟอร์ช (Brute-Force) ,โทรจันฮอร์ส (Trojan Horse) , ไอพีสปูฟิง , แพ็กเก็ตสนิฟเฟอร์ เป็นต้น การเดาแบบบรู๊ทฟอร์ช หมายถึง การลองผิดลองถูกรหัสผ่านเรื่อย ๆ จนกว่าจะถูก บ่อยครั้งที่การโจมตีแบบบรู๊ทฟอร์ชใช้การพยายามล็อกอินเข้าใช้รีซอร์สของเครือข่าย โดยถ้าทำสำเร็จผู้บุกรุกก็จะมีสิทธิ์เหมือนกับเจ้าของแอ็คเคาท์นั้น ๆ ถ้าหากแอ็คเคาท์นี้มีสิทธิ์เพียงพอผู้บุกรุกอาจสร้างแอ็คเคาท์ใหม่เพื่อเป็นประตูหลัง (Back Door) และใช้สำหรับการเข้าระบบในอนาคต
4 การโจมตีแบบ Man-in-the-Middle
   การโจมตีแบบ Man-in-the-Middle นั้นผู้โจมตีต้องสามารถเข้าถึงแพ็กเก็ตที่ส่งระหว่างเครือข่ายได้ เช่น ผู้โจมตีอาจอยู่ที่ ISP ซึ่งสามารถตรวจจับแพ็กเก็ตที่รับส่งระหว่างเครือข่ายภายในและเครือข่ายอื่น ๆ โดยผ่าน ISP การโจมตีนี้จะใช้ แพ็กเก็ตสนิฟเฟอร์เป็นเครื่องมือเพื่อขโมยข้อมูล หรือใช้เซสซั่นเพื่อแอ็กเซสเครือข่ายภายใน หรือวิเคราะห์การจราจรของเครือข่ายหรือผู้ใช้
5 การโจมตีแบบ DOS
   การโจมตีแบบดีไนล์ออฟเซอร์วิส หรือ DOS (Denial-of Service) หมายถึง การโจมตีเซิร์ฟเวอร์โดยการทำให้เซิร์ฟเวอร์นั้นไม่สามารถให้บริการได้ ซึ่งปกติจะทำโดยการใช้รีซอร์สของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ และเอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำได้โดยการเปิดการเชื่อมต่อ (Connection) กับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้
6 โทรจันฮอร์ส เวิร์ม และไวรัส
   คำว่า “โทรจันฮอร์ส (Trojan Horse)” นี้เป็นคำที่มาจากสงครามโทรจัน ระหว่างทรอย (Troy) และกรีก (Greek) ซึ่งเปรียบถึงม้าโครงไม้ที่ชาวกรีกสร้างทิ้งไว้แล้วซ่อนทหารไว้ข้างในแล้วถอนทัพกลับ พอชาวโทรจันออกมาดูเห็นม้าโครงไม้ทิ้งไว้ และคิดว่าเป็นของขวัญที่กรีซทิ้งไว้ให้ จึงนำกลับเข้าเมืองไปด้วย พอตกดึกทหารกรีกที่ซ่อนอยู่ในม้าโครงไม้ก็ออกมาและเปิดประตูให้กับทหารกรีกเข้าไปทำลายเมืองทรอย สำหรับในความหมายของคอมพิวเตอร์แล้ว โทรจันฮอร์ส หมายถึงดปรแกรมที่ทำลายระบบคอมพิวเตอร์โดยแฝงมากับโปรแกรมอื่น ๆ เช่น เกม สกรีนเวฟเวอร์ เป็นต้น

รูปแบบการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย

-                   Firewall
-                   Intrusion Detection System
-                   Cryptography
-                   Authorized
-                   Secure Socket Layer
-                   Virtual Private Network

Firewall
                คือ ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ที่ใช้เพื่อให้ผู้ใช้ที่อยู่ภายในสามารถใช้บริการเครือข่ายภายในได้เต็มที่ และใช้บริการเครือข่ายภายนอก เช่นอินเตอร์เน็ตได้ และในขณะเดียวกันจะป้องกันมิให้ผู้อื่นเข้าใช้บริการเครือข่ายที่อยู่ข้างในได้ โดยการควบคุมและกำหนดนโยบายการใช้เครือข่ายโดยอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้แพ็กเก็ตผ่านได้
Firewall แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-                   Application Layer Firewall หรือเรียกว่า Proxy Firewall ทำหน้าที่ควบคุมและกำหนดนโยบายการใช้งาน Application ต่างๆ โดยทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ Clientแทน Server
-                   Packet Filtering Firewall ทำหน้าที่กรองแพ็คเก็ตที่ผ่านเข้า-ออกเครือข่าย และอนุญาต / ไม่อนุญาตให้ผ่าน Firewall ได้ ตามนโยบายที่กำหนดไว้

Intrusion Detection SystemIntrusion Detection System
                เป็นเครื่องมือสำหรับการรักษาความปลอดภัยอีกประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับตรวจจับความพยายามที่จะบุกรุกเครือข่าย โดยระบบจะแจ้งเตือนผู้ดุแลระบบเมื่อการบุกรุกหรือพยายามที่จะบุกรุกเครือข่ายIDS ไม่ใช่ระบบป้องกันผู้บุกรุก แต่มีหน้าที่เตือนภัย ในการเข้าใช้เครือข่ายที่ผิดปกติเท่านั้น ดังนั้นจะต้องมีความสามารถในการระบุได้ว่าเหตุการณ์ใดผิดปกติ และผิดปกติอย่างไร

 Intrusion Detection System (ต่อ)
                โดยส่วนใหญ่จะจำแนกประเภทความผิดปกติออกเป็น 3 ระดับ
          -  การสำรวจเครือข่าย : ความพยายามในการรวบรวมข้อมูลก่อนการโจมตีของผู้บุกรุก เช่น การสแกนหา IP Address (IP Scans),การสแกนหาพอร์ต (Port Scans), การสแกนหาพอร์ตที่สามารถส่งโทรจันเข้าสู่เครือข่ายได้ (Trojan Scans), การสแกนหาจุดอ่อนของระบบ (Vulnerability Scans)
และ การทดสอบสิทธิการใช้งานไฟล์ต่างๆ (File Snooping)
                -  การโจมตีความพยายามในการโจมตีเครือข่าย ซึ่งควรให้ระดับความสำคัญสูงสุด เช่น การ
พบความผิดปกติของการส่ง packet ซ้ำๆ เข้าสู่เครือข่าย หรือ ลักษณะของ Packet บนเครือข่ายจากคนละผู้ส่งแต่มี signature เดียวกัน
                -  เหตุการณ์น่าสงสัยหรือผิดปกติ : เหตุการณ์อื่นๆ ที่ผิดปกติที่ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทต่างๆ

CryptographyCryptography
                CryptographyCryptographyคือการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการดักดูข้อมูลจาก Sniffer โดยปัจจุบันการเข้ารหัสข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-                   Symmetric Key Cryptography
-                   Public Key

Authorized
                การพิสูจน์ตัวตนบนเครือข่าย เป็นการระบุถึงผู้ส่งและผู้รับข้อมูลบนเครือข่ายว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ โดยมีวิธีการ 2 วิธีคือ
-                   Digital Signature คือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ลงท้ายไปกับข้อมูลที่ส่งไปบนเครือข่าย โดยขึ้นอยู่กับนโยบายการใช้งานของแต่ละเครือข่ายดังนั้น Digital Signature อาจเป็น รหัสผ่านลายนิ้วมือ หรือ Private Key เป็นต้น
-                   Certificate Authority คือ หน่วยงานหรือองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อรับรองสิทธิการเข้าถึงเครือข่ายและข้อมูลบนเครือข่าย ของทั้งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับธุรกรรมต่างๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Secure Socket LayerSecure Socket Layer
                คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือเป็นโปรโตคอลตัวหนึ่ง มีหน้าที่หลักๆ คือ
-                   Server Authentication คือการพิสูจน์ตัวตนของผู้ให้บริการ โดยติดต่อกับ CA: Certificate Authority เพื่อตรวจสอบความมีอยู่จริง
-                   Client Authentication คือการพิสูจน์ตัวตนของผู้รับบริการ เพื่อตรวจสอบความมั่นใจว่า ผู้ให้บริการติดต่อกับใครอยู่ (IP อะไรหรือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สามารถพิสูจน์ตัวตนได้จริง
                -       Encrypted Session คือการเข้ารหัสข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการทำธุรกรรมครั้งนั้นๆ อยู่

Virtual Private NetworkVirtual Private Network
                คือ เครือข่ายส่วนบุคคลเสมือน หรืออุโมงค์ข้อมูลที่ทำงานอยู่บนเครือข่ายสาธารณะ สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ประเภท
-                   Access VPN คือ VPN สำหรับผู้ที่เชื่อมต่อระยะไกล
-                   Intranet VPN คือ VPN ที่ใช้ส่งข้อมูลที่เป็นความลับระหว่างบุคคล หรือหน่วยงานภายในองค์กร
-                   Extranet VPN คือ VPN ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลสำคัญระหว่างองค์กร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม Norton Antivirus

3หัวข้อบทความ