ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

3หัวข้อบทความ

1.การรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
 

- ควรระมัดระวังในการใช้งาน การติดไวรัสมักเกิดจากผู้ใช้ไปใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับผู้อื่น   แล้วแผ่นนั้นติดไวรัสมา 
หรืออาจติดไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์มาจากอินเทอร์เน็ต
- หมั่นสาเนาข้อมูลอยู่เสมอ การป้องกันการสูญหายและถูกทาลายของข้อมูลที่ดีก็คือ การหมั่นสาเนา ข้อมูล
อย่างสม่ำเสมอ

- ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบและกาจัดไวรัส วิธีการนี้ สามารตรวจสอบ และป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ระดับหนึ่ง 
แต่ไม่ใช่เป็นการป้องกันได้ทั้งหมดเพราะว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
- การติดตั้งไฟร์วอลล์ (Firewall)  
               
    ไฟร์วอลล์จะทำหน้าที่ป้องกันบุคคลอื่นบุกรุกเข้ามาเจาะเครือข่ายในองค์กรเพื่อขโมยหรือทำลายข้อมูล 
เป็นระยะที่ทาหน้าที่ป้องกันข้อมูลของเครือข่าย โดยการควบคุมและตรวจสอบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในกับเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต

- การใช้รหัสผ่าน (Username & Password) 
    การใช้รหัสผ่านเป็นระบบรักษาความปลอดภัยขั้นแรกที่ใช้กันมากที่สุดเมื่อมีการติดตั้งระบบเครือข่าย
จะต้องมีการกำหนดบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน หากเป็นผู้อื่นที่ไม่ทราบรหัสผ่านก็ไม่สามารถเข้าไปใช้เครือข่ายได้ หากเป็นระบบที่ต้อง
การความปลอดภัยสูงก็ควรมีการเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

2.การโจมตีในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

     ภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นภัยอันตรายต่อสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากภัยนี้จะเป็นการรบกวนการทํางานของผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังส่งผลเสียต่อข้อมูลสำคัญๆ ที่มีอยู่อีกด้วย
ชนิดของภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต จําแนกได้ดังนี้
  1.มัลแวร์ (Malware) คือความไม่ปกติทางโปรแกรมที่สูญเสียความลับทางข้อมูล (Confidentiality) ข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลง (Integrity) สูญเสียเสถียรภาพของระบบปฏิบัติการ (Availability)


ซึ่งมัลแวร์แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท จึงขออธิบายแต่ละประเภทดังนี้
 1.1 ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือรหัสหรือโปรแกรมที่สามารถทําสําเนาตัวเองและแพร่กระจายสู่เครื่องอื่นได้ โดยเจ้าของเครื่องนั้นๆ ไม่รู้ตัว ถือว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ซึ่งฝังตัวเองในโปรแกรมหรือไฟล์ แล้วแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นๆ ผ่านทางสื่อต่างๆ สิ่งสําคัญคือไวรัสไม่สามารถแพร่กระจายได้หากขาดคนกระทํา



 1.2 หนอนคอมพิวเตอร์ (Computer Worm) เรียกสั้นๆ ว่า เวิร์ม เป็นหน่วยย่อยลงมาจากไวรัส มีคุณสมบัติต่างๆ เหมือนไวรัสแต่ต่างกันที่เวิร์มไม่ต้องอาศัยผู้ใช้งาน แต่จะอาศัยไฟล์หรือคุณสมบัติในการส่งต่อข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อกระจายตัวเอง  บางทีเวิร์มสามารถติดตั้ง Backdoor ที่เริ่มติดเวิร์มและสร้างสําเนาตัวเองได้ ซึ่งผู้สร้างเวิร์มนั้นสามารถสั่งการได้จากระยะไกล ที่เรียกว่า Botnet โดยมีเป้าหมายเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ส่งที่อันตรายอย่างยิ่งของเวิร์มคือ สามารถจําลองตัวเองในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแล้วแพร่กระจายตัวเองออกไปได้จำนวนมาก 



 1.3 ม้าโทรจัน (Trojan Horse) คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่ดูเหมือนมีประโยชน์ แต่แท้ที่จริงก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อรันโปรแกรม หรือติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ได้รับไฟล์โทรจันมักถูกหลอกลวงให้เปิดไฟล์ดังกล่าว โดยหลงคิดว่าเป็นซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย หรือไฟล์จากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อไฟล์ถูกเปิดอาจส่งผลลัพธ์หลายรูปแบบ เช่น สร้างความรําคาญด้วยการเปลี่ยนหน้าจอ สร้างไอคอนที่ไม่จําเป็น จนถึงขั้นลบไฟล์และทําลายข้อมูล โทรจันต่างจากไวรัสและเวิร์มคือโทรจันไม่สามารถสร้างสําเนาโดยแพร่กระจายสู่ไฟล์อื่น และไม่สามารถจำลองตัวเองได้




 1.4 Backdoor แปลเป็นไทยก็คือประตูหลัง ที่เปิดทิ้งไว้ให้บุคคลอื่นเดินเข้านอกออกในบ้านได้โดยง่าย ซึ่งเป็นช่องทางลัดที่เกิดจากช่องโหว่ของระบบ ทำให้ผู้ไม่มีสิทธิเข้าถึงระบบหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทําการใดๆ




 1.5 สปายแวร์ (Spyware) คือมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำให้ล่วงรู้ข้อมูลของผู้ใช้งานได้โดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว สามารถเฝ้าดูการใช้งานและรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ เช่น นิสัยการท่องเน็ต และเว็บไซต์ที่เข้าชม ทั้งยังสามารถเปลี่ยนค่าที่ตั้งไว้ของคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช้าลง เป็นต้น 


  
  2. การโจมตีแบบ DoS/DDos คือการพยายามโจมตีเพื่อทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางหยุดทำงาน หรือสูญเสียเสถียรภาพ หากเครื่องต้นทาง(ผู้โจมตี) มีเครื่องเดียว เรียกว่าการโจมตีแบบ Denial of Service (DoS) แต่หากผู้โจมตีมีมากและกระทำพร้อมๆ กัน จะเรียกกว่าการโจมตีแบบ Distributed Denial of Service (DDoS) ซึ่งในปัจจุบันการโจมตีส่วนใหญ่มักเป็นการโจมตีแบบ DDoS




  3.BOTNET หรือ “Robot network” คือเครือข่ายหุ่นรบที่ถือเป็นสะพานเชื่อมภัยคุกคามทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยมัลแวร์ทั้งหลายที่กล่าวในตอนต้นต้องการนำทางเพื่อต่อยอดความเสียหาย และทำให้ยากแต่การควบคุมมากขึ้น
  4. ข้อมูลขยะ (Spam) คือภัยคุกคามส่วนใหญ่ที่เกิดจากอีเมล์หรือเรียกว่า อีเมล์ขยะ เป็นขยะออนไลน์ที่ส่งตรงถึงผู้รับ โดยที่ผู้รับสารนั้นไม่ต้องการ และสร้างความเดือดร้อน รําคาญให้กับผู้รับได้



5. Phishing เป็นคำพ้องเสียงกับ “fishing” หรือการตกปลาเพื่อให้เหยื่อมาติดเบ็ด คือ กลลวงชนิดหนึ่งในโลกไซเบอร์ด้วยการส่งข้อมูลผ่านอีเมล์หรือเมสเซนเจอร์ หลอกให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นสถาบันการเงินหรือองค์กรน่าเชื่อถือ แล้วทําลิงค์ล่อให้เหยื่อคลิก เพื่อหวังจะได้ข้อมูลสําคัญ 


6.Sniffing เป็นการดักข้อมูลที่ส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งบนเครือข่ายในองค์กร (LAN) เป็นวิธีการหนึ่งที่นักโจมตีระบบนิยมใช้ดักข้อมูลเพื่อแกะรหัสผ่านบนเครือข่ายไร้สาย (Wirdless LAN) และดักข้อมูล User/Password ของผู้อื่นที่ไม่ได้ผ่านการเข้ารหัส



3.การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

       อินเตอร์มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่องทางสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมมูลกันได้รวดเร็วอีกทั้งยังสะดวกสบายต่อเรามาก รวมถึงธุรกิจห้างร้านที่ต้องใช้งานในการค้าขายใช้ธุรกรรมการเงินทางอินเตอร์เน็ต แต่ถ้าเราใช้อย่างไม่ระวังและยังไม่เห็นความสำคัญ ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย ก็จะเกิดภัยคุกคามต่างๆได้เช่นโดนโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวเพื่อขโมยเงินทางอินเตอร์เน็ตได้ หรือถูกหลอกหลวงเกี่ยวกับการค้า เป็นต้น จากที่กล่าวมา เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนี้

1) ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

2) ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ

3) ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ

4) ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครอง และควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ

5) ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย

6) สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)

7) ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ
อย่าบันทึก!ชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้” อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้

8) ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ
เพราะภาพ เสียง หรือวีดีโอนั้นๆ รั่วไหลได้ เช่นจากการแคร็ก ข้อมูล หรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) และถึงแม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ

9) จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ
ปกติ การใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว หรือ Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ Junk mail box หรือ Bulk Mail เพื่อแยกแยะประเภทของอีเมล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะคัดกรองจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน แล้วถูกสปายแวร์ แอดแวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือแม้แต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน

10) จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์
จัดการกับสปายแวร์แอดแวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤติกรรมการใช้เน็ตของคุณ ด้วยการซื้อโปรแกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรแกรมมาดักจับและขจัดเจ้าแอดแวร์ สปายแวร์ออกไปจากเครื่องของคุณ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีได้ที่แต่แค่มีโปรแกรมไว้ในเครื่องยังไม่พอ คุณต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมออนไลน์และสแกนเครื่องของคุณบ่อยๆด้วย เพื่อให้เครื่องของคุณปลอดสปาย ข้อมูลของคุณก็ปลอดภัย
* โปรแกรมล้าง แอดแวร์ และ สปายแวร์ จะใช้โปรแกรมตัวเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเขาอาจตั้งชื่อโดยใช้แค่เพียงว่า โปรแกรมล้าง แอดแวร์ แต่อันที่จริง มันลบทิ้งทั้ง แอดแวร์ และสปายแวร์พร้อมๆ กัน เพราะเจ้าสองตัวนี้ มันคล้ายๆ กัน

11) จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนดักจับและฆ่าไวรัส ซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมาก มีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แม้จะติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสไว้แล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต เวลาที่มีไวรัสตัวใหม่ๆ แอบเข้ามากับอินเทอร์เน็ต เครื่องคุณก็อาจจะโดนทำลายได้

12) ควร Block ในโปรแกรม P2P
สำหรับผู้ชื่นชอบการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรมแชร์ข้อมูล P2P ให้ระวังข้อมูลสำคัญ ไฟล์ภาพ วีดีโอส่วนตัว หรืออะไรที่ไม่ต้องการจะเปิดเผยสู่สาธารณะชน ควรบันทึกลงซีดี ดีวีดี หรือเทปไว้ อย่าเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณอาจถูกเจาะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปได้

13) กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ
ในโปรแกรมเว็บ บราวเซอร์ อย่าง อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ ก็มีการตั้งค่า คอนเทนท์ แอดไวเซอร์ หรือฟังก์ชั่น การกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถเปิดเข้าไปในเว็บไซท์ที่มีภาพและเนื้อหา โป๊ เปลือย ภาษาหยาบคาย รุนแรงได้ และยังมีการตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัส สำหรับผู้ปกครอง เพื่อกันเด็กเข้าไปแก้ไขการตั้งค่าของคุณ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปลดล็อกได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้าเว็บไซท์บางเว็บไซต์

Firewall คืออะไร
Firewall คือ ระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ (อ่านว่า ไฟร์วอลล์) ไม่ให้ถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีหรือการสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมถึงเครือข่าย LAN ด้วย ซึ่งในปัจจุบัน Firewall มีทั้งอุปกรณ์ที่เป็น Hardware และ Software
Firewall
4.หน้าที่ของ Firewall มีอะไรบ้าง
      เมื่อเรามีระบบ Firewall ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกับการสร้างกำแพงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และเหลือประตูทางเข้าไว้เป็นทางผ่านของข้อมูลต่างๆจากเครือข่ายอื่น และตรงประตูนั้นจะมียามคอยรักษาการณ์อยู่คอยทำหน้าที่ตรวจสอบการเชื่อมต่อต่างๆให้เป็นไปตามกฏ ซึ่ง Firewall จะเป็นตัวกรองข้อมูลว่า ข้อมูลชนิดนี้คือ ใคร (Source) ตัวข้อมูลต้องการจะไปที่ไหน (Destination) และข้อมูลชิ้นนี้จะบริการอะไรหรือทำอะไร (Service/Port) ถ้ารู้สึกว่าข้อมูลไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงที่จะมาทำความเสียหาย Firewall ก็จะทำหน้าที่กันไม่ให้ข้อมูลเข้าไปได้
ประโยชน์ของ Firewall
เมื่อเราทราบแล้วว่า Firewall คืออะไร ลักษณะการทำงานเป็นแบบไหน ต่อมาเราจะมาพูดถึงประโยชน์ของเจ้าตัว Firewall กันต่อไปครับ ประโยชน์ของ Firewall ก็คือ ป้องกันว่าข้อมูลที่จะส่งผ่านนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับกฏต่างๆที่ทางผู้ใช้งาน (administrator) ได้กำหนดไว้ หากไม่ผ่านกฎเพียงข้อเดียว Firewall ก็จะไม่ให้ผ่านเข้าไปเลย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ใช้งานเองด้วย ถ้าหากข้อมูลไม่ปลอดภัยแต่ผู้ใช้งานอนุญาตให้ผ่านเข้ามาได้ Firewall ก็จะปล่อยเข้ามา
เมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตกันได้มากขึ้น ก็เหมือนกับการไปอยู่ในโลกกว้าง เราอาจจะไม่รู้จักกับคนทุกคน เว็บไซต์ทุกเว็บไซต์ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะสร้างกำแพงป้องกันตัวของเราเอาไว้สักนิด Firewall จึงเป็นด่านหน้าที่กรองผู้ไม่ประสงค์ดีได้ส่วนหนึ่ง เพื่อไม่ให้พวกนั้นสามารถเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์และสร้างความเสียหายได้นั่นเอง

5.การเข้ารหัสข้อมูล
การเข้ารหัสข้อมูล
สำนักบริการคอมพิวเตอร์


การเข้ารหัสข้อมูลมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความลับของข้อมูล ข้อมูลนั้นจะถูกเปิดอ่านโดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หลักการของการเข้ารหัสข้อมูลคือแปลงข้อมูล (encrypt) ไปอยู่ในรูปของข้อมูลที่ไม่สามารถอ่านได้โดยตรง ข้อมูลจะถูกถอดกลับด้วยกระบวนการถอดรหัส (decryption) ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 การเข้ารหัสข้อมูล
ข้อมูลที่สามารถอ่านได้ เรียกว่า plain text หรือ clear text ข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วเราเรียกว่า cipher text ข้อมูลเมื่อเสร็จสิ้นการเข้ารหัสแล้ว ผลที่ได้ก็คือ cipher text ในการอ่านข้อความ cipher text นั้น การเข้ารหัสแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ1. Symmetric Cryptography (Secret key)
หรือบางทีอาจเรียกว่า Single-key algorithm หรือ one-key algorithm คือ การเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้กุญแจรหัสตัวเดียวกัน คือ ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีกุญแจรหัสที่เหมือนกันเพื่อใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัส ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 Symmetric Cryptography
2. Asymmetric Cryptography (Public key)
การเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้กุญแจรหัสคนละตัวกัน การส่งจะมีกุญแจรหัสตัวหนึ่งในการเข้ารหัส และผู้รับก็จะมีกุญแจรหัสอีกตัวหนึ่งเพื่อใช้ในการถอดรหัส ผู้ใช้รายหนึ่งๆจึงมีกุญแจรหัส 2 ค่าเสมอคือ กุญแจสาธารณะ (public key) และ กุญแจส่วนตัว (private key) ผู้ใช้จะประกาศให้ผู้อื่นทราบถึงกุญแจสาธารณะของตนเองเพื่อให้นำไปใช้ในการเข้ารหัสและส่งข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วมาให้ ข้อมูลที่เข้ารหัสดังกล่าวจะถูกถอดออกได้โดยกุญแจส่วนตัวเท่านั้น ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 Asymmetric Cryptography
ในทางปฏิบัติแล้วมักมีการใช้การเข้ารัหสทั้งสองระบบร่วมกันเช่นในระบบ PGP (Pretty Good Privacy) ซึ่งใช้ในการเข้ารหัส E-mail จะใช้วิธีสร้าง session key ซึ่งเป็นรหัสลับตามแบบ secret key) เมื่อข้อมูลถูกเข้ารหัสด้วย session key แล้ว จากนั้น session key จะถูกเข้ารหัสโดยใช้กุญแจสาธารณะของผู้รับ และถูกส่งไปกับข้อมูลที่เข้ารหัสแล้ว ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 การเข้ารหัสข้อมูล
การถอดรหัสนั้นทำในทางตรงกันข้าม ผู้รับจะใช้กูญแจส่วนตัวในการได้คืนมาของ session key ซึ่งหลังจากนั้นจึงนำ session key มาถอดรหัสข้อมูลอีกขั้นหนึ่ง ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 การถอดรหัส
การรวมกันของวิธีการเข้ารหัสสองวิธีเป็นการรวมความสะดวกของการเข้ารหัสแบบสาธารณะกับความเร็วในการเข้ารหัสแบบทั่วไป เนื่องจากการเข้ารหัสแบบทั่วไปเร็วกว่าการเข้ารหัสแบบสาธารณะประมาณ 1000 เท่า แต่การเข้ารหัสแบบสาธารณะมีข้อดีในเรื่องวิธีแจกจ่ายรหัส ดังนั้นจึงนิยมใช้การเข้ารกัสข้อมูลซึ่งมีขนาดใหญ่ด้วยวิธีการเข้ารหัสแบบทั่วไป และใช้ของการเข้ารหัสแบบสาธารณะสำหรับการส่งกุญแจของการเข้ารหัสแบบทั่วไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม Norton Antivirus

การโจมตีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์